เมนู

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
มรรคของพระอริยะเหล่านั้น ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ความฉลาดในฐานะ
และอฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[308] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
2. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[309] 1. โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย